วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning notes 8
23 September 2019

The knowledge gained
     💖เพื่อนกลุ่มที่ 1 นำเสนอรูปแบบการสอนแบบ "EF (Executive Functions)" เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น 






 กิจกรรม "ใช้หลอดต่อเป็นสะพานเพื่อให้ลูกปิงปองไหลลงพื้นช้าที่สุด"

เพื่อนกลุ่มที่ 1 ได้ยกตัวอย่างการสอนโดยการ "ใช้หลอดต่อเป็นสะพานเพื่อให้ลูกปิงปองไหลลงพื้นช้าที่สุด" โดยให้เด็กช่วยกันคิดวางแผนและออกแบบว่าจะทำยังไงให้สะพานมีความแข็งแรงและลูกปิงปองไหลลงพื้นช้าที่สุดภายใต้เงื่อนไขเวลาที่กำหนด
        

    💖เพื่อนกลุ่มที่ 2 นำเสนอรูปแบบการสอนแบบ "EF (Executive Functions)" เช่นเดียวกับเพื่อนกลุ่มที่ 1 แต่


เพื่อนกลุ่มที่ 2 ได้ยกตัวอย่างการสอนโดยการให้ "ฉีกกระดาษ" โดยให้แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน แล้วให้เริ่มฉีกกระดาษให้ยาวที่สุดโดยที่ไม่ขาดออกจากกันภายใต้เงื่อนไขเวลาที่กำหนด

    💖เพื่อนกลุ่มที่ 3 นำเสนอรูปแบบการสอนแบบ “Project Approach” 
Project Approach เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เด็กรูปแบบหนึ่งที่ให้โอกาสเด็กเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจในสิ่งแวดล้อมไกด์ตัวเด็กโดยเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ตั้งคำถามในสิ่งที่ยังต้องการเรียนรู้หาศาตอบรวมทั้งดำเนินการวางแผนสำรวจสีบคันบันทักก็ตวิเคราะห์สังเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและความรู้ต่างๆเด็กเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยประสบการณ์ตรงหลากหลายวิธีแล้วสุดท้ายเด็กและครร่วมกันสรุปเรียบเรียงขึ้นตอนการเรียนรู้และสิ่งที่เรียนรู้ออกมาเป็นช่นงานและนิทรรศการอันเป็นการส่วนความคิดรวบยอดที่ดีต่อจากนั้นก็ทำการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับรู้ซึ่งเป็นการเรียบเรียงทบทวนวิธีการทักษะและข้อมูลในการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนเป็นระบบการเรียนรู้แบบ Project Approach จะเป็นการเรียนรู้อย่างลุ่มลีกในสิ่งที่เด็กสนใจใกล้ตัวซึ่งเปรียบเทียบได้กับการเรียนรู้ด้วยวิธีการการดำเนินการวิจัยเบื้องต้น โดยการเรียนรู้แบบ Project Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ทบทวนประสบการณ์เดิม
ระยะที่ 2 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้
ระยะที่ 3 สรุปและจัดนิทัศการณ์ภายในห้องเรียน




เพื่อนกลุ่มที่ 3 ได้ยกตัวอย่างการสอนโดย "โปรเจค นม" โดยการสอนเป็นลำดับขั้น ดังนี้

ระยะที่ 1 ให้เด็กเลือกหน่วยการเรียนรู้ที่ตนอยากเรียน หลังจากเลือกเสร็จถามประสบการณ์เดิมของเด็กเกี่ยวข้องกับหน่วยการเรียนรู้
ระยะที่ 2 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้ เช่น นมมีกี่ประเภท การผลิตนมเป็นแบบไหน ฯ
ระยะที่ 3 สรุปผลการเรียนรู้เรื่องนม ทบทวนความรู้และจัดนิทัศการณ์ภายในห้องเรียน
  
    💖เพื่อนกลุ่มที่ 4 นำเสนอรูปแบบการสอนแบบ "STEM"
สะเต็มศึกษา (STEM Education) คือ แนวทางการศึกษาที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆเช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และความรู้ด้านคณิตศาสตร์  รวมเข้าด้วยกัน
  • Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
  • Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
  • Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
  • Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์
เพื่อนกลุ่มที่ 4 ได้ยกตัวอย่างการสอนโดย "สร้างแพขนส่งสินค้าจากดินน้ำมัน" คือการที่แจกอุปกรณ์การทำกิจกรรมให้แก่เด็กพร้อมบอกวิธีการเล่น และให้เด็กลงมือกระทำโดยการคิด ออกแบบและวางแผนร่วมกันภายในกลุ่มเพื่อที่จะไม่ให้แพสินค้าจมลงไปในน้ำ และผลงานที่ทำขึ้นคือเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาใหม่

    💖เพื่อนกลุ่มที่ 5 นำเสนอรูปแบบการสอนแบบ "Montessori"
การสอนแบบมอนเตสซอรี่ เป็นการสอนรูปแบบหนึ่งที่เหมาะกับเด็ก ทั้งเด็กพิเศษ และเด็กปกติ 
Dr. Montessori เป็นผู้ริเริ่มจัดการเรียนการสอน สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Mentally Retarded Children) โดยใช้วิธีการคิดขึ้นเองจนประสบผลสำเร็จ และได้พัฒนาวิธีการสอนต่อมาจนสมบูรณ์แบบ เพื่อใช้เป็นวิธีสอนสำหรับเด็กโดยทั่วๆ ไป

ปรัชญาและหลักการของการสอนแบบมอนเตสซอรี่
1.   เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
2.   เด็กมีจิตที่ซึมซาบได้
3.   ช่วงเวลาหลักของชีวิต 
4.   การเตรียมสิ่งแวดล้อม
5.   การศึกษาด้วยตนเอง





ขอบคุณที่มา : http://www.pecerathailand.org/2018/01/364.html


    💖เพื่อนกลุ่มที่ 6 นำเสนอรูปแบบการสอนแบบ "Montessori" เช่นเดียวกับเพื่อนกลุ่มที่ 5 แต่



เพื่อนกลุ่มที่ 6 ได้ยกตัวอย่างการสอนโดยการให้ทำแพบันทุกลูกปิงปอง



    💖เพื่อนกลุ่มที่ 7 นำเสนอรูปแบบการสอนแบบ "High scope"
โดยที่อธิบายว่า รูปบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยในรูปแบบ High scope คือ การสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลายด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนจะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง

ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้
3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่
เช่น เด็ก 30 คน อาจจะแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วให้ทำกิจกรรมครั้งละกลุ่ม แล้วให้ตัวแทนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในห้องออกมาทบทวนผลงานที่ได้ทำ



เพื่อนกลุ่มที่ 7 ได้ยกตัวอย่างการสอนโดยการให้แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มและสอบถามความต้องการของเด็กแล้วค่อยให้เด็กลงมือทำกิจกรรม


Slef evaluation
  • เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือเพื่อนกลุ่มอื่นในการทำกิจกรรม
Evaluate friends
  • เพื่อนๆ ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย มีบางส่วนที่มาสายเล็กน้อย แต่ก็ตั้งใจให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของเพื่อนกลุ่มอื่นเป็นอย่างดี
Evaluate the teacher
  • อาจารย์ให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมและอธิบายได้เข้าใจเป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น