วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning notes 9
7 October 2019

The knowledge gained
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเลือกสิ่งที่ตัวเองอยากเรียนรู้และแรกเปลี่ยนวามคิดเห็นกับสมาชิกในกลุ่มว่าต้องการเรียนเรื่องอะไร โดยกำหนดว่าเป้นเรื่องภายในห้องเรียน กลุ่มของดิฉันอยากเรียนเรื่อง "แอร์"
แนวการสอนแบบโครงการ  (Project Approach)
        การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้การสอน 3 ระยะของ Project Approach
การเรียนรู้แบบ Project Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ
คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณครูจะใช้คำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม และทำจดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องการเรียนรู้ของโครงการส่งกับบ้านถึงผู้ปกครอง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองได้พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ และแบ่งปันความรู้ให้กับเด็ก ๆ เพื่อเด็กจะได้นำความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ในห้องต่อไป

ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ
ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็กๆ ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้ โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้ เช่น บางคนมีทักษะพื้นฐานด้านงานประดิษฐ์ การวาดภาพ การนำเสนอ และการเล่นละคร โดยคุณครูช่วยสนับสนุนให้เด็กได้ทำงานตามความถนัดของแต่ละคนผ่านการอภิปรายในห้องเรียน ซึ่งหัวข้อของ Mind Map ที่ออกแบบไว้ก่อนหน้า จะให้ข้อมูลย่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการด้วย
ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ
เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป

การสรุปโปรเจคของกลุ่มดิฉัน



การสรุปโปรเจคของกลุ่มเพื่อนๆ

 👧Slef evaluation
สนุกสนานกับการทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน และได้มีความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการลงมือปฏิบัติจริง
👦👧Evaluate friends
เพื่อนทุกคนช่วยกันระดมความคิดในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
👩‍🏫Evaluate the teacher 
อาจารย์มีกิจกรรมที่ดีมาให้ทำตลอด ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง สามารถนำไปใช้กับการสอนได้จริง แต่ดิฉันอยากให้อาจารย์อธิบายรูปแบบการสอนและมีตัวอย่างให้ดูก่อนการปฏิบัติจริงค่ะ
Learning notes 15
28 November 2019

The knowledge gained
📣 ดิฉันและเพื่อนสอบสอนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. นางสาวอรอุมา สีท้วม หน่วย ครอบครัว

2. นางสาวชานิสา อุ้ยทัน หน่วย อาชีพ

3. นางสาวธิดาพร สึกชัย หน่วย ประเภทของสัตว์ป่าแลัสัตว์เลี้ยง

4. นางสาววรรณภา ผังดี หน่วย วันสงกรานต์

5. นางสาวจีระนันท์ ชัยชาย หน่วย ประเภทของการคมนาคม

6. นางสาวจุฬารัตน์ เปี่ยมวารี หน่วย วันลอยกระทง

7. นายปฏิภาร จินดาดวง หน่วย สมาชิกในครอบครัว

8. นางสาวปิยะธิดา ประเสริฐสัง หน่วย บ้านของเรา

9. นางสาวทิพย์วิมล นวลอ่อน หน่วย ข้าว

10. นางสาวพิมพ์สุดา จันทะภา หน่วย กล้วย

11. นางสาวอริสา กุณารบ หน่วย ธรรมชาติรอบตัว

12. นางสาวสุพรรษา มีอุตส่าห์ หน่วย ฝน

อาจารย์ให้คำแนะนำหลังสอบสอนเสร็จ คือ
1. ควรใช้คำพูดที่เหมาะสมกับเด็กมากกว่านี้ เช่น เด็กๆ ทราบอะไรจากเนื้อเพลงที่ครูร้องให้ฟัง
2. ลำดับขั้นการสอนให้ถูก ควรเลือกสอนวันละหัวข้อตามลำดับความสำคัญ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นอย่างถูกวิธี
3. ควรมีสื่อ เพราะสื่อสำคัญมากสพหรับเด็กปฐมวัย เด็กจะเรียนรู้ได้ดีผ่านรูปภาพหรือสื่อต่างๆ
4. ขยายประสบการณ์เดิมของเด็กเพื่อดึงเข้าสู่ประสบการณ์ใหม่จากภาพ
5. ร่วมสรุปเนื้อหาร่วมกันกับเด็ก

👧Slef evaluation
ได้รู้จักข้อผิดพลาดและข้อควรแก้ไขปรับปรุงของตน้องอีกหลายข้อ อาจจะเป็นเพราะดิฉันยังไม่เข้าใจการสอนแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยมากเท่าที่ควร จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการสอน
👦👧Evaluate friends
เพื่อนทุกคนเตรียมตัวในการสอบสอนเป็นอย่างดีและตั้งใจทุกคน ถึงจะออกมาไม่ถูกต้องมากเท่าไหร่อาจารย์ก็ช่วยแนะนำทุกคน
👩‍🏫Evaluate the teacher 
อาจารย์ให้คำแนะนำและบอกข้อควรปรับปรุงเป็นอย่างดี แต่ดิฉันอยากให้อาจาย์อธิบายวิธีการสอนและการเขียนแผนการสอนให้ละเอียดมากกว่านี้ หรืออาอาจจะสอนเป็นตัวอย่างสักครั้งก็จะดีมากกว่านี้ค่ะ เพราะจะทำให้ดิฉันและเพื่อนเข้าใจและจดจำรูปแบบการสอนได้ดีมากกว่านี้ค่ะ 🙏🙏🙏

Learning notes 12
11 November 2019

The knowledge gained



♤ วันนี้อาจารย์พูดถึงข้อที่ควรปรับปรุงของตนเองว่าควรปรับปรุงแก้ไขตรงไหน และควรปรับปรุงอะไรบ้าง เพื่อที่จะออกไปฝึกสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
♧ อาจารย์สอนว่าสิ่งที่ควรพูดกับเด็กต้องใช้ภาพเพื่อที่จะทำให้เด็กเข้าใจง่าย และการส่งเสริมแต่ไม่แทรกแซง / การสอนแบบกระตุ้นแบบส่งเสริมแต่ไม่แทรกแซง
◇ วงล้อการเรียนรู้แบบไฮสโคป 
โปรแกรมไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น ♡ การประเมินเด็กและครูตามแนวของไฮสโคป
⇒ ในโปรแกรมไฮสโคป การประเมินถือเป็นงานโดยตรงของครูที่จะต้องตั้งใจปฏิบัติและเอาใจใส่อย่างเต็มที่ ครูไฮสโคปจะทํางานร่วมกันเป็นคณะ ในแต่ละวันครูทุกคนจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก ข้อมูลนี้ได้จากการสังเกตและการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กในกิจวัตรประจําวัน โดยครูจะจดบันทึกสั้นตามสิ่งที่เห็นและได้ยินอย่างเที่ยงตรง สมาชิกครูที่ร่วมกันสอนจะมีการวางแผนประจำวันร่วมกันก่อนที่เด็กจะมาถึงโรงเรียน หรือหลังจากที่เด็กกลับบ้าน หรือในขณะที่เด็กนอนพักผ่อนตอนกลางวัน ครูจะแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเด็ก ทําการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านประสบการณ์สําคัญ และวางแผนสำหรับวันต่อไป
Active Laerning By Hihg Sachob
⇒ หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Hohmann and Weikart,1995) ทั้งนี้ องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ได้แก่
1. การเลือกและตัดสินใจ เด็กจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจและความตั้งใจของตนเอง เด็กเป็นผู้เลือกวัสดุอุปกรณ์และตัดสินใจว่าจะใช้วัสดุอุปกรณ์นั้นอย่างไร การที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้ใหญ่ ดังนั้น ผู้ใหญ่ที่ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการเลือกและการตัดสินใจต้องจัดให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกได้ตลอดทั้งวันขณะที่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่ใช่เฉพาะในช่วงเวลาเล่นเสรีเท่านั้น
2. สื่อ ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะมีเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย เพียงพอ และเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก เด็กต้องมีโอกาสและมีเวลาเพียงพอที่จะเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ เมื่อเด็กใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เด็กจะมีโอกาสเชื่อมโยงการกระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาสในการแก้ปัญหามากขึ้นด้วย
3. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กได้สำรวจและจัดกระทำกับวัตถุโดยตรงทำให้เด็กรู้จักวัตถุ หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุ แล้วเด็กจะนำวัตถุต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องกันและเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ ผู้ใหญ่มีหน้าที่จัดให้เด็กค้นพบความสัมพันธ์เหล่านี้ด้วยตนเอง
4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็ก ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทําเด็กมักจะเล่าว่าตนกําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วในแต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความคิดและรู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เด็กจะเรียนรู้วิธีการพูดที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ได้พัฒนาการคิดควบคู่ไปกับการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองด้วย
5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนการเรียนรู้แบบลงมือกระทําต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก สังเกตและค้นหาความตั้งใจ ความสนใจของเด็ก ผู้ใหญ่ควรรับฟังเด็ก ส่งเสริมให้เด็กคิดและ ทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทํา เด็กจะเผชิญกับประสบการณ์สําคัญซํ้าแล้วซํ้าอีกในชีวิตประจําวันอย่างเป็นธรรมชาติ ประสบการณ์สําคัญเป็นกุญแจที่จําเป็นในการสร้างองค์ความรู้ของเด็กเป็นเสมือนกรอบความคิดที่จะทําความเข้าใจการเรียนรู้แบบลงมือกระทําเราสามารถให้คําจํากัดความได้ว่า ประสบการณ์สําคัญเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่เด็กจะต้องหามาให้ได้โดยการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ คน แนวคิดและเหตุการณ์ สำคัญต่างๆ อย่างหลากหลาย ประสบการณ์สำคัญเป็นกรอบความคิดให้กับผู้ใหญ่ในการเข้าใจการเรียนรู้ของเด็ก สามารถวางแผนการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสม

👧Slef evaluation
เมื่ออาจารย์ตั้งคำถามถึงข้อที่ตัวเองควรปรับปรุงก็รู้สึกว่าตนเองต้องปรับปรุงอะไรอีกหลายอย่าง เช่น ทฤษฎีต่างๆ เทคนิคการสอน เป็นต้น แต่ดิฉันก็จะพยายามปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น
👦👧Evaluate friends เพื่อนๆ ทุกคนตั้งใจเรียน ร่วมกันตอบคำถามอาจารย์ และบอกข้อดี ข้อที่ควรปรับปรุงของตนเองได่ดีค่ะ
👩‍🏫Evaluate the teacher อาจารย์คอยเป็นห่วงนักศึกษาทุกคน ใส่ใจรายละเอีดยเล็ๆ น้อยของนักศึกษา ต้องขอบคถณอาจารย์มากๆ ค่ะ ที่คอยเตือนสติพวกหนูใรหลายๆ เรื่อง
Learning notes 11
28 October 2019

The knowledge gained



🔆🔆🔆 วันนี้เป็นการเรื่อง "สารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย"โดย อาจารย์ กรรณิการ์ แต่ก่อนจะเริ่มบรรยายเนื้อหาสาระต่างๆ อาจารย์ใช้กิจกรรมกระตุ้นและดึงดูดความสนใจผู้อบรมด้วยการเต้นเพลง T26 ,ร้องเพลงบอกรักเพื่อนๆ ,เพลงฝนเทลงมา ,ใช้คำถามนำเข้าสู่บทเรียน  

📣📣📣 สารนิทัศน์สาหรับเด็กปฐมวัย (Documentation for Young Children) หมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นร่องรอยของการเจรญิเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกไว้เป็นระยะจะเป็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา อีกทั้งยังสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูด้วย  

📢📢📢 คุณค่าและความสำคัญของสารนิทัศน์
การจัดทำสารนิทัศน์(Documentation) เป็นการจัดทำข้อมูลทเี่ป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและขอ้มูลที่บันทึกเป็นระยะๆ จะเป็นขอ้มูลอธิบายภาพเด็กสามารถบ่งบอกถึงพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สารนิทัศน์เป็นการประมวลผลที่แสดงให้ เห็นถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูและร่องรอยผลงานของเด็กจากการทำกจิกรรมที่สะท้อนถึงพัฒนาการในด้านต่างๆ

📢📢📢 ประโยชน์ของสารนิทัศน์
การจัดทำสารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจะช่วยให้การสอนและการประเมินมีคุณภาพครูต้องเรียนรู้การจัดการชั้นเรียน การจัดเก็บข้อมูลขณะเด็กทำกิจกรรม การสะท้อนกลับข้อมูลและการนำข้อมูลผลงานมานำเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กเห็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กตามหลักการพัฒนาเด็กให้เหมาะสมกับวัย พัฒนาการความแตกต่างระหว่างบุคคลตลอดจนบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งการจัดทำสารนิทัศน์นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและการประเมินคุณค่าและประโยชน์ ดังนี้
  • การจัดทำสารนิทัศน์ที่หลากหลายจะช่วยครูในแง่ของการตรวจสอบคุณภาพของการศึกษาที่ดี เนื่องจากการศึกษาในปัจจุบันเน้นการประเมินเพื่อตรวจสอบความเข้มแข็งของการศึกษา ซึ่งส่งผลให้โรงเรียนและ หน่วยงานที่จัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาอย่างสม่ำเสมอทำให้บางหน่วยงานนำแบบทดสอบมาตรฐานซึ่งไม่เหมาะสมมาประเมินเด็กปฐมวัย
  • ครูจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อจัดทำสารนิทัศน์ เพราะจะมีการวางแผนทั้งด้านการจัดชั้นเรียน การตัดสินใจว่าจะทำอะไรก่อนหลัง รวมถึงการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นเด็ก เนื่องจากครูมีข้อมูลและสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำสารนิทัศน์ช่วยให้ครูรู้ว่าเด็กรู้อะไรมาบ้างแล้ว จะช่วยให้ครูก้าวถึง ขั้นต่อไปของเด็กได้ง่ายขึ้น สนองตอบความต้องการของเด็กได้อย่างสอดคล้องและสิ่งที่ต้องการพัฒนา อย่างแท้จริง
  • ประโยชน์ของการจัดทำสารนิทัศน์มีอีกหลายข้อ ดิฉันขออนุญาตยกตัวอย่างมาแค่คร่าวๆ ค่ะ
🔉🔉🔉 ประเภทของสารนิทัศน์
  • พอร์ตโฟลิโอสำหรับเด็กเป็นรายบุคคล
  • การบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
  • การสังเกตและบันทึกพัฒนาการเด็ก
  • การสะท้อนตนเองของเด็ก
  • ผลงานรายบุคคลและรายกลุ่ม
  • หลักฐานการสอนเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
  • หลักฐานเกี่ยวกับการสอนของครู
🔈🔈🔈 กิจกรรมหลักของสารนิทัศน์
1. กิจกรรมเก็บรวบรวมหลักฐาน
2. กิจกรรมสะท้อนความคิด
3. กิจกรรมนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
4. กิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

🔈🔈🔈 รูปแบบการคิดของเด็กมี 4 แบบ
1. คิดพื้นฐาน
2. คิดทั่วไป
3. คิดวิเคราะห์
4. คิดสร้างสรรค?    

🔈🔈🔈 พัฒนาการการเล่น Blocks
ขั้นที่ 1 สำรวจถือไปมา
ขั้นที่ 2 ใช้ไม้บล็อคต่อทั้งแนวตั้งและแนวนอน
ขั้นที่ 3 ต่อเป็นสะพาน
ขั้นที่ 4 ล้อม ปิดกั้น
ขั้นที่ 5 แบบสมมาตร
ขั้นที่ 6 สร้างสิ่งต่างๆ ให้ชื่อสิ่งที่สร้าง
ขั้นที่ 7 สร้างและเล่นบทบาทสมมุติ

🔈🔈🔈 พัฒนาการการใช้กรรไกร
1. ตัดทีละนิด (2 ปี)
2. ตัดขาดออกจากกัน (3 ปี)
3. ตัดตามเส้น (ไม่ตรง) (3-4 ปี)
4. เส้นโค้ง เส้นซิกแซก (4-5 ปี)
5. ตัดภาพนิตยาสารหรือตามโค้ง (5-6 ปี)

🔈🔈🔈 ประเภทและตัวอย่างแผงกราฟฟิก
  1. ผังความคิด(Mind Mapping)
  2. ผังมโนทัศน์(Concept map)
  3. เวนน์ไดอะแกรม(Venn diagrame)
  4. ทีชาร์ต(T-chart)
  5. แผนภูมิรูปวงกลม(Pie-chart)
  6. แผนภูมิแท่ง (Bargraph)
  7. ตารางเปรียบเทียบ (Compare table)
  8. ผังต้นไม้ (Tree diagrams)
  9. ผังก้างปลา(Fishbone diagram)
  10. ผังใยแมงมุม(Web diagram)
  11. ผังลำดับ (Sequential map)
  12. ผังวัฎจักร (Cycle map)


👧Slef evaluation
วันนี้รู้สึกสนุกสนานที่ได้เข้าอบรมกับอาจารย์กรรณิการ์มากค่ะ ได้รับความรู้ที่แปลกใหม่เพิ่มเติมจากเดิมที่ไม่เคยรู้ว่าสารนิทัศน์คืออะไร ได้ทำกิจกรรมใหม่ๆ ทำให้นำไปปรับใช้ได้ในอนาคต
👦👧Evaluate friends
เพื่อนเกือบทุกคนเข้าอบรมด้วยความตั้งใจ ร่วมกันฟัง ทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ และทุกคนก็ได้ความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติม
👩‍🏫Evaluate the teacher
อาจารย์จินตนาเป็นคนที่คอยห่วงใยนักศึกษาตลอดเวลา ใส่ใจนักศึกษาทุกรายละเอียด อยากใฟ้นักศึกษามีความรู้ เป็นคนเก่งในทุกๆ ด้าน จึงเชิญอาจารย์กรรณิการ์มาให้ความรู้ ถึงจะได้อบรมและทำความรู้จักแค่วันเดียวก็รู้สึกได้ว่าอาจารย์กรรณิการ์เป็นคน้ก่ง เรียบร้อย สนุกสนาน ต้องขอบคุณมากนะคะที่มามอบความรู้ใหม่ๆ ดีๆ ให้แกนักศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning notes 10
21 October 2019

The knowledge gained
วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง "แผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย" และมีตัวอย่างจากรุ่นพี่ของโรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสณี)มาให้ได้ดูได้ศึกษาก่อนที่อาจารย์จะมีกิจกรรมมาให้ทำ
"แผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย"
อาจารย์กำหนดให้
1. ให้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละเท่าๆ กัน
2. ให้วาดภาพแม่น้ำที่มีชื่อเสียงลงในกระดาษแต่ห้ามบอกเพื่อนว่าคือแม่น้ำอะไร
3. ให้ทำถังเก็บน้ำจากอุปกรณ์ที่อาจารย์กำหนดให้
ภาพแม่น้ำชี
ทดลองทำขาตั้งถังเก็บน้ำและถังเก็บน้ำ
อุปกรณ์
1. กระดาษหนังสือพิมพ์
2. เทปกาว
3. กรรไกร
(อุปกรณ์มีจำนวนจำกัด)

อาจารย์กำหนดให้
1. นำหนังสือไปวางบนถังน้ำเพื่อทดสอบความแข็งแรง
2. ทำสไลด์เดอร์จากหลอดติดกับถังเก็บน้ำ โดยให้ลูปปิงปองไหลลงมาช้าที่สุด


 การทำถังเก็บน้ำจากกระดาษหนังสือพิมพ์และเทปกาว แล้วนำหนังสือไปวางข้างบนเพื่อทดสอบความแข็งแรงและสมมติว่าหนังสือคือปริมาณน้ำที่สูบขึ้นมาจากแม่น้ำ


ขณะกำลังทำสไลด์เดอร์จากหลอด


ทำสไลด์เดอร์จากหลอดติดกับถังเก็บน้ำ โดยให้ลูปปิงปองไหลลงมาช้าที่สุด

อุปกรณ์
1. หลอด
2. ลูปปิงปอง
(อุปกรณ์มีจำนวนจำกัด)

♡ เพื่อให้เกิดการวางแผนและระดมความคิดอย่างมีระบบ ด้วยการลองผิดลองถูกเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่โจทย์กำหนด




รูปเพื่อนกลุ่มที่ 1 ในการทำกิจกรรม




รูปเพื่อนกลุ่มที่ 2 ในการทำกิจกรรม







รูปเพื่อนกลุ่มที่ 3 ในการทำกิจกรรม

♡ อาจารย์สรุปถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยเรารู้จักบูรณาการหลักสูตรให้สอดคล้องกับตัวเด็กโดนยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง และได้รับประสบการณ์ตรงที่ดี ฝึกให้เด็กได้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รู้จักเป็นผู้นำผู้ตาม และมีการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้านไปพร้อมๆ กัน 

👧Slef evaluation
ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับเพื่อน และช่วยคิด วางแผนใยการทำกิจกรรมกับเพื่อนเพื่อนให้บรรุตามเป้าหมายที่โจทย์กำหนด 
👦👧Evaluate friends
เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและช่วยกันระดมความคิดในการสร้างสื่อตามโจทย์ที่อาจารย์กำหนดให้ (วันนี้เพื่อนมาเรียนน้อยทำให้แบ่งกลุ่มในการทำกิจกรรมได้แค่ 3 กลุ่ม)
👩‍🏫Evaluate the teacher
อาจารย์เข้าสอนและปล่อยตรงเวลา สอนสนุก ใส่ใจนักศึกษา ถึงแม้บางครั้งอาจารย์จะดุไปบ้าง แต่อาจารย์ก็หวังดีกับนักศึกษาทุกคน เพราะ อยากให้เก่ง พร้อมที่จะออกไปเป็นครูที่มีคุณภาพ

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning notes 14
25 November 2019

#วันนี้ดิฉันขออนุญาตอาจารย์หยุดเรียน 1 วัน เนื่องจากมีไข้และไอต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว วันนี้จึงไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล และหลังจากที่กลับมาจากโรงพยาบาลดิฉันก็ได้ถามสิ่งที่ได้เรียนในสัปดาห์นี้กับเพื่อนที่เข้าเรียนและเตรียมการสอบสอนในสัปดาห์ถัดไปค่ะ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Learning notes 13
18 November 2019

#วันนี้ดิฉันมีไข้และปวดหัว จึงขออนุญาตอาจารย์หยุดเรียน 1 วันค่ะ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง